หัวบล็อก

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่5

การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design             
                                                         รศ. ดร. ฉลอง  ทับศรี  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

               การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ 
                ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ   (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 14 ตุลาคม 2009 เวลา 12:16 น.

การออกแบบสื่อการเรียนการสอน https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEifxFi2xjjwrQfNJKQYRpRsIClojPWT6yj46LqAyUWIaZgdZ4IvBaoCpI8Czj4wPX3NcQ0ipwKoZcwarXl9ElGxQF6leEDBUEBCzK10iPwHt9kYQ6SIuM3_GBvB0a_odo3XK45F-z4S66zG/s320/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B1.jpg
.......ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน คือ 
...การจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น
.สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ
. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
การออกแบบสื่อองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอน คือ
.....สิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ
......สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน คือ
.....การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา

วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
.....เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอน

ระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ

1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้
การสร้างแบบจำลองและการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ตามประเภท
1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น
แบบจำลองคณิตศาสตร์
แบบจำลองวิทยาศาสตร์
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง
แบบจำลองความคิด เป็นต้น

.......แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด .........
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด
2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม
สรุปสาระสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้  Active  Learning
                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้ Active  Learning   เป็นกระบบการจัดการเรียนการสอน
ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมโดยตรงในกิจกรรมการเรียนรู้ได้พัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพความต้องการ ความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล  โดยได้คิดเอง ทำเอง ลงมือปฏิบัติ ได้มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งได้มีโอกาสประยุกต์ใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการสอนแบบใฝ่รู้ Active Learning ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ
 4  องค์ประกอบ คือ
1.             การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ประสบการณ์)
2.             การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน (สะท้อนความคิดและอภิปราย)
3.             การนำเสนอความรู้ (ความคิดรวบยอด)
4.             การลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้  (ประยุกต์แนวคิด)
1.             การแลกเปลี่ยนประสบการณ์   
เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยงหรืออธิบาย  ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่  และแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง  เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์
ที่หลากหลายจากแต่ละคน  เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
ผู้เรียน     รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนในฐานะสมาชิก มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเอง  และได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น   นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้ว ยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
ผู้สอน     ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่าง เพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อย  กระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป   
ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนหรือมีน้อย  ผู้สอนอาจต้องจัดประสบการณ์ให้  ซึ่งทำได้ทั้งทรงตรง  เช่น  การนำตัวอย่างดินเหนียว  ดินร่วนและดินทราย  ให้เด็กได้สัมผัส เพื่อสังเกตความแตกต่าง  และทางอ้อม เช่น  การเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้ติดเชื้อเอดส์  เนื่องจากเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงได้ 
         กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นไปได้  ลักษณะ  คือ  การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์หลากหลายของผู้เรียน และจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้ผู้เรียนเพื่อความเข้าใจหรือกระตุ้นให้เกิดการคิด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้
         ด้านความรู้    เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่สอน
        ด้านเจตคติ    เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียน  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
                               รู้สึกที่สอดคล้องกับจุดประสงค์และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยว    กับความคิดความเชื่อต่อไป              
        ด้านทักษะ     เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทักษะนั้น ๆ  ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน
2.   การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
         เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ ข้อมูลความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน หรือเกิดข้อสรุป / องค์ความรู้ใหม่ หรือตรวจสอบ / ปรับ / เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
         กิจกรรมในองค์ประกอบนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เน้นการตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิด สะท้อนความคิดหรือบอกความคิดเห็นตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ และได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด ระหว่างกันอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจชัดเจน ได้ข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่ หรือเกิด / ปรับ / เปลี่ยนความคิดความเชื่อตามจุดประสงค์ที่กำหนด  โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
         ด้านความรู้      ตั้งประเด็นให้อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านกระบวน
                                การคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ  ตัวอย่าง 
                                เช่น  การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์กรณีศึกษา    การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การ    วิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
         ด้านเจตคติ       ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย    กระตุ้นให้เกิดความคิดหลากหลาย  เน้นในเรื่องคุณค่าอารมณ์   ความรู้สึก  ให้ผู้เรียน  ความคิดความเชื่อ มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของ
                                      ผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการ ข้อสรุปจากการอภิปรายและความคิดรวบยอด
                                 ที่ได้  จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
         ด้านทักษะ         ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น  และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือปฏิบัติจนชำนาญ
3.   การนำเสนอความรู้
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้ แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ  โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
                กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ได้แก่
-      การให้แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้   ขั้นตอนทักษะ ซึ่งทำได้โดยการ  บรรยาย 
       ดูวิดีทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร ใบความรู้ / ตำรา   ฯลฯ
-                   การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
-                   ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและอภิปราย
ประเด็นที่ได้มอบหมายให้
กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ  โดยมีจุดเน้น

     สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  ดังนี้

                ด้านความรู้     ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
                ด้านเจตคติ     ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดให้

    ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ  อย่างชัดเจน

                ด้านทักษะ      ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ  อย่างชัดเจน
4.   การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดหรือข้อสรุปหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบอื่น ๆ   ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้ได้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอากสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง  ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
                จุดเน้นของกิจกรรมในองค์ประกอบนี้  สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน  มีดังนี้
                ด้านความรู้           เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง ๆ   เช่น  สร้างคำขวัญ  ทำแผนภาพ 
                                                    จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์
                                             เปรียบเทียบ ฯลฯ
                ด้านเจตคติ           เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น
                                                   เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์   สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาด
                                             ในโรงเรียน ฯลฯ
                ด้านทักษะ             เป็นการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะที่ได้เรียนรู้

การนำองค์ประกอบทั้ง   4     มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้    จะใช้องค์ประกอบใดก่อนหลัง  หรือให้
องค์ประกอบใดกี่ครั้งในแต่ละแผนการเรียนรู้  สามารถออกแบบตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้  และ
จุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด  ควรต้องให้มีครบทั้ง  องค์ประกอบ  เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้  Active  Learning

��น�h �)� � P�� � �นกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่